แผลผ่าตัดเสริมหน้าอก

หลายคนที่คิดอยากจะทำศัลยกรรมหน้าอก มักมีความกังวลเรื่องแผลผ่าตัด เสริมแล้วจะเห็นรอยแผลชัดมั้ย? แผลใหญ่มั้ย? จะเป็นแผลเป็นมั้ย? แล้วบริเวณไหนที่แพทย์จะทำการผ่าตัดดศัลยกรรมหน้าอก มาดูกันเลย

 

การผ่าตัดเพื่อเสริมหน้าอกโดยปกติสามารถผ่าได้ 3 ตำแหน่ง

คือ รักแร้ (Transaxillary), ใต้รอยพับเต้านม (inframammary), รอบปานนม (periarealar) แต่ละตำแหน่งมีข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน  และแพทย์จะพิจารณาผ่าตำแหน่งไหน

• รักแร้ ตำแหน่งนี้จะช่วยปกปิดแผลได้ยาก แต่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้หญิงที่ไม่ต้องการให้มีแผลเป็นที่เต้านม ไม่ทิ้งรอยแผลใกล้หน้าอก แต่การผ่าตัดค่อนข้างยุ่งยาก และใช้เวลารักษาตัวนานกว่า

• ใต้รอยพับเต้านม (ใต้ราวนม) เป็นตำแหน่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มคนศัลยกรรมหหน้าอก เพราะแผลจะถูกปกปิดใต้รอยพับของผิวหนังใต้เต้านม มองไม่ค่อยเห็น เนียนมากๆ แผลฟื้นตัวเร็ว เหมาะกับคนที่ชอบใส่เสื้อกล้าม

• รอบปานนม เป็นตำแหน่งที่สามารถปกปิดแผลได้มากที่สุด แผลจะเล็กมากและแผลจะเนียนเพราะบริเวณปานเต้านมเป็นบริเวณที่มีสีเข้ม แต่ไม่สามารถเปิดแผลใส่ซีลิโคนใหญ่ได้ เพราะเนื้อที่จำกัด

 

ตำแหน่งการเสริมหน้าอก หลังจากที่ศัลยแพทย์พิจารณารูปร่างและลักษณะเนื้อเยื่อเต้านมของผู้ป่วยแต่ละรายแล้ว แพทย์จะเลือกตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะวางซิลิโคนเข้าไป ตำแหน่งที่ใส่ซิลิโคนสามารถใส่ได้ 2 ตำแหน่ง

• ตำแหน่งใต้ต่อมน้ำนม (วางใต้เนื้อเยื่อเต้านมแต่เหนือกล้ามเนื้อทรวงอก) การเสริมในตำแหน่งใต้ต่อมน้ำนม ช่วยลดระยะเวลาการผ่าตัด และการหายของแผล แต่อาจมีข้อเสียคือ ขอบเขตของเต้านมเทียมใต้ผิวหนังอาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า รังสีวินิจฉัยในการตรวจมะเร็งเต้านมอาจทำได้ยากกว่า

• ตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อ (วางใต้ทั้งเนื้อเยื่อเต้านมและกล้ามเนื้อทรวงอก) การศัลยกรรมหน้าอกในตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อจะช่วยในเรื่องความรู้สึกการสัมผัสดีขึ้น และลดโอกาสการเกิดความแข็งของพังผืดเต้านมเทียม การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้านรังสีวิทยาทำได้ง่ายขึ้น แต่ข้อเสียคือ ระยะเวลาการผ่าตัดและการพักฟื้นนานขึ้น

 

เทคนิค ศัลยกรรมหน้าอก ต่างๆ ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำการรักษา และเทคโนโลยีการรักษาของแต่ละคลินิคด้วย และสำหรับสาวๆ ที่มีปัญหา หน้าอกเล็ก จอแบน หรือคุณแม่หลังคลอดอกหย่อนหยาน หรือมีปัญหาหลังเสริมหน้าอกแล้ว